วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที 17

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
สอบสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนำขอบข่ายของคณิตศาสตร์มาใช้ในการสอน


ข้อดี
1.มีการประยุกต์เอาเกมการศึกษามาใช้ได้ทำให้เห็นเป็นรูปแบบของคณิตศาสตร์
2.สามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิด
3.การทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วม
ข้อปรับปรุง
1. เสียเปรียบในตัวกิจกรรม ไม่ควรใช้เกมการศึกษา เพราะไม่หลากหลายในกิจกรรม
2.ควรมีการทำกิจกรรมที่เห็นชัดเจน เช่นกิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 16

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554
สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อ จัดเป็นคอนเซป แล้วเริ่มทำหนังสือ
ให้เห็นกิจกรรม ปฏิบัติจริง
การประเมินผล ผ่าน / ไม่ผ่าน

นัดสอบ
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
นำอุปกรณ์มาสอน ในขอบข่ายคณิตศาสตร์เพื่อเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 15

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554
นิทานสามารถจัดประสบการณ์ทางภาษาไทย
กิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมกลางแจ้ง ลำดับก่อนหลัง การเคลื่อนไหว เช่น การหาพื้นที่
ปริมาณ การจัดกลุ่มของอุปกรณ์
กิจกรรมเกมการศึกษา
- พื้นฐานการบวก
- เรียงลำดับเหตุการณ์
- จิ๊กซอ จำนวนนับ
- จับคู่รอยเท้าสัตว์
- จับคู่จำนวนที่เท่ากัน
- ภาพซ้อน
- ทิศทางของภาพ
- จับคู่รูปร่างสัตว์
- ส่วนบน ส่วนล่าง



บันทึกครั้งที่ 14

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554
เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก
ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ
ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับเป็นการบอกจำนวนของสิ่งของต่างๆ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ......
ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ ตัวเลขเป็นสัญลักษณะของการแสดงจะนว
พื้นฐานที่ใช้ในการเขียนแสดงจำนวนเรียกว่า เลขโดดในระบบเลขฐานสิบมี 10 ตัว
ตัวเลขฮินดูอารบิก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่มได้ผลรวมมากขึ้น
การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

สาระที่ 2 : การวัด
การหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
การวัดความยาวความสูงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องที่มีหน่วย หรือไม่ใช้หน่วยมาตฐาน
เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน
เป็นการใช่เปรียบเทียบความยาว/ความสูงของสิ่งต่างๆ
การเรียกลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียกจากน้อยไปมากหรือมากไปหาน้อย
การชั่ง น้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัด ชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน หนักกว่า เบากว่า
เป็นการเปรียบเทียบน้ำหนักสิ่งของ การตวง การเรียงปริมาตร

สาระที่ 3 : เรขาคณิต

ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง
ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นค่าที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทางระยะทางของสิ่งต่างๆ

สาระที่ 4 : พีชคณิต

แบบรูปเป็น ความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุดของจำนวนรูปเรขาคณิ
ต หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การเก็บรวมรวบข้อมูลอาจใช้วิธีการสังเกตหรือสอบถามก็ได้ แผนภูมิรูปภาพ
เป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่ายโดยใช้รูปภาพแสดง จำนวนของสิ่งต่างๆ
อาจวาดรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้