วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที 17

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
สอบสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนำขอบข่ายของคณิตศาสตร์มาใช้ในการสอน


ข้อดี
1.มีการประยุกต์เอาเกมการศึกษามาใช้ได้ทำให้เห็นเป็นรูปแบบของคณิตศาสตร์
2.สามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิด
3.การทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วม
ข้อปรับปรุง
1. เสียเปรียบในตัวกิจกรรม ไม่ควรใช้เกมการศึกษา เพราะไม่หลากหลายในกิจกรรม
2.ควรมีการทำกิจกรรมที่เห็นชัดเจน เช่นกิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 16

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554
สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อ จัดเป็นคอนเซป แล้วเริ่มทำหนังสือ
ให้เห็นกิจกรรม ปฏิบัติจริง
การประเมินผล ผ่าน / ไม่ผ่าน

นัดสอบ
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
นำอุปกรณ์มาสอน ในขอบข่ายคณิตศาสตร์เพื่อเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 15

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554
นิทานสามารถจัดประสบการณ์ทางภาษาไทย
กิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมกลางแจ้ง ลำดับก่อนหลัง การเคลื่อนไหว เช่น การหาพื้นที่
ปริมาณ การจัดกลุ่มของอุปกรณ์
กิจกรรมเกมการศึกษา
- พื้นฐานการบวก
- เรียงลำดับเหตุการณ์
- จิ๊กซอ จำนวนนับ
- จับคู่รอยเท้าสัตว์
- จับคู่จำนวนที่เท่ากัน
- ภาพซ้อน
- ทิศทางของภาพ
- จับคู่รูปร่างสัตว์
- ส่วนบน ส่วนล่าง



บันทึกครั้งที่ 14

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554
เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก
ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ
ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับเป็นการบอกจำนวนของสิ่งของต่างๆ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ......
ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ ตัวเลขเป็นสัญลักษณะของการแสดงจะนว
พื้นฐานที่ใช้ในการเขียนแสดงจำนวนเรียกว่า เลขโดดในระบบเลขฐานสิบมี 10 ตัว
ตัวเลขฮินดูอารบิก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่มได้ผลรวมมากขึ้น
การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

สาระที่ 2 : การวัด
การหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
การวัดความยาวความสูงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องที่มีหน่วย หรือไม่ใช้หน่วยมาตฐาน
เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน
เป็นการใช่เปรียบเทียบความยาว/ความสูงของสิ่งต่างๆ
การเรียกลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียกจากน้อยไปมากหรือมากไปหาน้อย
การชั่ง น้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัด ชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน หนักกว่า เบากว่า
เป็นการเปรียบเทียบน้ำหนักสิ่งของ การตวง การเรียงปริมาตร

สาระที่ 3 : เรขาคณิต

ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง
ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นค่าที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทางระยะทางของสิ่งต่างๆ

สาระที่ 4 : พีชคณิต

แบบรูปเป็น ความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุดของจำนวนรูปเรขาคณิ
ต หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การเก็บรวมรวบข้อมูลอาจใช้วิธีการสังเกตหรือสอบถามก็ได้ แผนภูมิรูปภาพ
เป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่ายโดยใช้รูปภาพแสดง จำนวนของสิ่งต่างๆ
อาจวาดรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้




วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 13

วันที่ 27 มกราคม 2554

แบ่งกลุ่ม 6กลุ่ม

คิดหน่วยการเรียนรู้ ทำ Mind map
การใช้ขอบข่ายของกระบวนการทางคณิตศาตร์
เขียนแผนการจัดประสบการณ์ 4 วัน โดยสอดแทรกกระบวนการทางคณิตศาสตร์
เขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม

บันทึกครั้งที่ 12

วันที่ 20 มกราคม 2554

คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ

ตัวเลข = เรื่องการนับ ต้องการให้เป็น ให้จำได้ สามารถบอกจำนวนได้ เช่น
นับวันที่ ,นับเวลา (เช้า กลางวัย เย็น)
ขนาด = เล็ก ใหญ่ สูงเตี้ย อ้วน ผอม
ที่ตั้ง =ซ้าย ขวา หน้า หลัง
ค่าของเงิน= บาท สตางค์
ความเร็ว = ในเรื่องความสัมพันธ์ เวลากับสิ่งที่กระทำ เช่นระยะทางกับเวลา
อุณหภูมิ =ร้อน เย็น หนาว อบอุ่น
เพราะฉะนั้น คณิตศาสตร์ อยู่รอบตัวแต่จะทำทักษะใดก็แล้วแต่ต้องอาศัยเครื่องมือ

มาตราฐานการวัดในระยะเมตริก
วัด = เป็นวิธีการซึ่งจะได้ซึ่งปริมาณระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือ
การวัดเรื่องเวลาในขณะเดียวกันต้องมีขั้นตอน
1.ใช้ของจริง 2.จำลอง 3.สัญลักษณ์
ลักษณะหลักสูตรที่ดี
- เน้นกนะบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
- เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรม
ในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
*ทำไมต้องเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน
(เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว มีอิทธิพลในตัวเรา)

หลักในการสอนคณิตศาสตร์
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
- การถอดรองเท้า เป็นคู่
- วางในชั้นรองเท้า ซ้ายขวา บอกตำแหน่ง เป็นต้น
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
- สถานการณ์ที่ครูสร้างขึ้น
3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้ และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใชวิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรม
ใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเ็ด็ก

ครูจะทำให้เด็กเชื่อมั่นได้ต้อง
1.ยอมรับฟัง
2.เปิดโอกาส
3.เสริมแรง


วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 11

วันที่ 15 มกราคม 2554

สอนความรู้ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์
ในกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เครื่องเล่นสนาม,เล่นลูกบอล

การสอนให้สอดคล้องและบูรณาการทางคณิตศาสตร์
จะเป็นการเรียนการสอนโดยครูและเด็กอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีการร่วมมือ
และมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองด้วย
1.คณิตศาสตร์มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน
2.คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว คล้ายกับวิทยาศาสตร์
- การเปรียบเทียบ
- การจัดลำดับ
- รูปทรงและเนื้อที่
- การวัด
หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
เช่น จดบันทึกการทำกิจกรรม , การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
2. ใชประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อนสอนประสบการณ์ใหม่
ในสถานการณ์ใหม่ๆประสบการณ์ทางคณิตศสตร์ของเด็กปฐมวัย


เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงสวัสดียามเช้า
เพลงสวัสดีคุณครู
เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน

บันทึกครั้งที่ 10

วันที่ 6 มกราคม 2554

สรุปองค์รวมเกี่ยวกับการออกสังเกตการณ์สอน
ว่ามีกิจกรรมใดที่บูรณาการกลุ่มสาระคณิตศาสตร์
มีการเรียนการสอนในเรื่องของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กตามช่วงวัย
และเรียนรู้ไปตามพัฒนาการของเด็ก มีเกณฑ์ในการช่วยประเมิน
ชั้นเตรียมอนุบาลของสาธิตหมาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ใช้เพลงในการสอนจำนวนนับและการบอกทิศทาง
และำตำแหน่ง เช่นการยกมือซ้าย ขวา ในเพลงตามหน่วย
การเล่านิทาน โดยใช้วิธีการสนทนาซักถามระหว่างการเล่า
เช่น ตัวละครนนี้มีตัวอะไรบ้าง มีจำนวนกี่ตัว มันทำอะไร เป็นต้น
นอกจากจะใช้วิธีการเหล่านี้ในการเสริมประสบการณ์แล้ว
ยังใช้เป็นเทคนิคและวิธีการเก็บเด็กอีกด้วย

อาทิตย์นี้สอนเรื่อง
1.ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย


วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 8 - 9

ไม่มีการเรียนการสอน (สอบกลางภาค)

บันทึกครั้งที่ 6-7

วันที่29 พฤศจิกายน - 14 ธันวาคม 2553

ออกสังเกตการณ์ practicum 1

โรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ระดับชั้นเตรียมอนุบาล การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เป็นการเล่านิทาน
มีคำถามเรื่องจำนวนของตัวละครในนิทานเช่น ในเรื่องมีไก่กี่ตัว
ใช้เพลงช่วยเป็นสื่อในการสอน มีสอนเรื่องการหาทิศทางซ้าย/ขวา
การนับจำนวนอวัยวะภายนอกของร่างกาย เป็นต้






บันทึกครั้งที่ 5

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553

ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่ 4


วันที่ 18 พฤศจิกายน 2553

ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
มีโรงเรียนอนุบาลต่างๆจัดกิจกรรมและแนวการสอน
ให้ศึกษาดูตัวอย่างและผลงานของเด็กที่บ่งบอกถึงพัฒนาการ




บันทึกครั้งที่ 3

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.เขียนสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับอะไรจากการเรียนรายวิชา
ในภาคเรียนนี้
2.ผู้สอนมีความคาดหวังว่าเมื่อเรียนจบในวันนี้ผู้เรียน
2.1 อธิบายความหมายของคณิตศาสตรืได้
2.2คณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันหรือไม่
Lesson Plan Old perception

พัฒนาการ
วิธีการเรียนรู้= การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้และเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
การช่วยโดยแรงเสริม =สำหรับเด็กต้องทำให้รู้ว่ามาจากข้างใน

ไม่ใช่เพราะคนชม หรือวัตถุที่ช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้
กิิจกรรม

ตัวเลขที่จะให้ดูต่อไปนี้เป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณครู
ให้ทุกคนช่วยกันเดาว่าเป็นตัวเลขเกี่ยวกับอะไร
4 5.30 1.50 48 1900

( พี่น้อง) (ตื่นนอน) (ความสูง) (อายุ) (รหัสไปรษณี)
*กิจกรรมนี้ดีหรือไม่ นำไปใช้กับเด็กๆ ทั้งเด็กเล็กได้หรือไม่
และเด็กได้เรียนรู้อะไรบ้าง
กิจกรรมตัวเลขใดที่ต่างจากพวก
20 15 23 25

- กิจกรรมนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกพูกภาษาคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง เช่น
เลข 1 ในจำนวน 15 เป็นตัวเลข1อยู่จำนวนเดียว
- กิจกรรมนี้จะเห็นว่าคำตอบหลายคำตอบ

จะถูกหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่แต่ละคน จะแสดงออกมา
ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ เป็นคำถามที่กระตุ้นให้คิด
การบ้าน
ทำอย่างไรให้จำนวนก้านไม้ขีด 10ก้าน ที่เรียนกันเป็นตัวเลข 9+1 แล้ว=10